พระร่วงหลังรางปืน เนื้อตะกั่วสนิมแดง



พระร่วงหลังรางปืนองค์นี้ ไม่ได้ถูกบรรจุอยู่ในกรุ เพียงเก็บรักษาไว้อย่างดีในกล่องไม้เก่า ไม่มีคราบกรุใดๆมาปิดบัง จึงทำให้มองเห็นเนื้อตะกั่วสนิมแดงอย่างชัดเจน และ เผยให้เห็นรอยแตกใยแมงมุมตามธรรมชาติ อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญ ซึ่งถูกปกปิด และ แอบซ่อนไว้ ในตำนาน มานานมากกว่า 700 ปี

        ขอเรียกพระร่วงหลังรางปืนองค์นี้เป็นพิมพ์ ฉลองราชพิธี เนื่องจากพระร่วง ท่านฉลองพระองค์เครื่องต้น หรือ แต่งตัวตามพระราชพิธี ในพิธีใด พิธีหนึ่ง กล่าวคือ ท่านสวมมหามงกุฎที่พระเศียร สวมสร้อยพระศอ พร้อมจี้ขนาดใหญ่ที่คอ สวมกำไลรัดแขนที่ต้นแขนขวา สวมแหวนที่นิ้วนางของมือขวา คาดเข็มขัดมีลวดลายสวยงาม และ ที่เท้าทั้งสองข้างทรงสวมใส่รองพระบาท หรือ รองเท้าทรงหัวเชิด แลดูสุภาพ สวยงาม เหมาะสม ตามกาลสมัยสุโขทัยบริสุทธิ์ เห็นได้ชัดว่า เป็นศิลปต่างยุคร่วมสมัยกับพระร่วงหลังรางปืนที่พบในกรุวัดพระปรางค์ ซึ่งคราวที่พบในครั้งนั้น พระร่วงทุกพิมพ์ต่างไม่สวมใส่รองพระบาท แสดงถึงศิลปะแบบลพบุรี หรือ ศิลปะบายน แต่ก็สันนิฐานได้ว่า สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยเช่นเดียวกัน แต่ต่างวาระ ต่างพิธี เนื่องจากรอยกดแผ่นไม้เท่าขนาดด้านหลังองค์พระร่วงหลังรางปืนนั้น เป็นแบบเดียวกัน หรือ เหมือนกันนั้นเอง

        พระร่วงมิใช่เป็นพระสงฆ์ หรือ พระพุทธรูป และ มิใช่เป็นเทวรูป หากแต่เป็นพระนาม ซึ่งเรียกตามความหมายที่มีความสำคัญคือ ท่านผู้ปกครองเมือง หรือ กษัตริย์ผู้ครองเมือง พระร่วงหลังรางปืน สันนิฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย และ กษัตริย์ผู้ปกครองกรุงสุโขทัยในขณะนั้น ต่างก็สันนิษฐานกันว่าเป็นยุคสมัยการปกครองของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  ซึ่งในขณะนั้น เป็นช่วงเวลาที่กรุงสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด ทั้งทางด้านการค้าขาย ด้านศิลปะวัฒนธรรม ด้านศาสนา และ ด้านศิลปวัตถุ.







พระร่วงรางปืน กรุวัดพระปรางค์ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย องค์แท้อยู่ที่นี่ ตรงนี้ มีภาพถ่าย และคำบรรยายให้ศึกษา....ผู้เขียนขออนุญาตไม่กล่าวถึงประวัติต่างๆ ของพระร่วงหลังรางปืน จ.สุโขทัย และไม่ขอกล่าวถึงความเป็นมาในการค้นพบ แต่จะขอกล่าวถึงความเป็นจริง เมื่อได้นำกล้องขยายขนาดกำลัง 10 เท่า 20 เท่า และ 40 เท่ามาส่องมอง เพื่อตรวจพิสูจน์ดูว่าพระร่วงหลังรางปืน องค์แท้นี้ มีสภาพความแท้เป็นอย่างไร หลายร้อยปีที่ผ่านมาความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติบนองค์พระเป็นเช่นไร ซึ่งก็พอที่จะนำเสนอให้ได้ศึกษาเป็นข้อมูล ดังนี้..

**พระร่วงหลังรางปืน จ.สุโขทัย เนื้อตะกั่วสนิมแดง กรุเก่าแท้จริงแล้ว วรรณะของสนิมที่ฝังตัวติดอยู่ในเนื้อตะกั่วนั้นต่างสีสัน มีทั้งสีแดงอ่อน สีแดงเข้ม แดงอมม่วง และสีแดงส้ม ขึ้นอยู่กับแร่โลหะต่างชนิดที่ผสม สภาวะอากาศภายในกรุที่พบ อีกทั้งวิธีการเก็บรักษาสนิมหลากสีเหล่านี้รวมตัวและผสมผสานอย่างกลมกลืนเป็นเนื้อหนึ่งในองค์เดียวกัน

กาลเวลาผ่านพ้นไป เนื้อแท้ของตะกั่วได้เปลี่ยนสภาพปรากฏเป็นเนื้อตะกั่วผสมสนิมสีแดงตั้งแต่ผิวชั้นบนสุด ฝังลึกถึงแกนกลางของเนื้อชั้นในสุด เรียกว่ายิ่งลึกสนิมยิ่งแดงก็ว่าได้ มิใช่เป็นตะกั่วสีดำอมสีแดง เพียงแค่ผิวภายนอกเท่านั้น

พระร่วงหลังรางปืนองค์นี้ ไม่มีคราบพรางตาใดๆปกปิด แสดงให้เห็นถึงความเป็นเนื้อดะกั่วสนิมแดงบริสุทธิ์ เพียงแต่มีคราบไขขาวขึ้นจับอยู่บนผิวพระและมีน้ำสนิมสีแดงซึมผสมคลุมอยู่ด้านบนของไขขาวอีกชั้นหนึ่ง บางช่วงปรากฏ มีสนิมสีแดงลักษณะเป็นจุดหรือเป็นเม็ดเล็กๆ เหมือนเม็ดไข่ปลาจำนวนหลายสิบเม็ดผสมปะปนรวมตัวอยู่ในไขขาวที่ขึ้นอยู่ตามผิวขององค์พระซึ่งก็มีอยู่หลายตำแหน่งด้วยกัน ผิวขององค์พระบางช่วงบางที่มีรอยย่นคล้ายคลื่นบนผิวน้ำลักษณะเป็นริ้วๆ หลายเส้น และมีรอยสนิมคล้ายลายนิ้วมือหรือนิ้วเท้าของนก หรือบางคนอาจจะเรียกว่า รอยสนิมตีนกา รอยที่ว่านี้ มีลักษณะเป็นเส้นเล็กๆ ถึงเล็กมาก เรียงถี่ๆ 4-5 เส้น สั้นๆ สั้นประมาณ ½ ถึงมิลลิเมตร ปรากฏอยู่ทั่วไปมากมาย แบบไม่เป็นระเบียบ ขึ้นอยู่ตามผิวองค์พระมีทั้งด้านหน้าและด้านหลังขององค์พระ

พระร่วงหลังรางปืนกรุเก่า มักมีรอยแตกหรือรอยรานหรือที่เรียกกันว่ารอยแตกใยแมงมุม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของพระร่วงหลังรางปืน เนื้อตะกั่วสนิมแดง จ.สุโขทัย ที่แท้ทุกองค์

รอยแตกใยแมงมุมนี้ ปรากฏอยู่ใต้พื้นผิวขององค์พระแบบตื้นๆ บางๆ มีลักษณะเป็นเหมือนใยบางเบา แทบมองไม่เห็นก็มีมาก บางเส้นมองด้วยตาเปล่าก็เห็นได้ มีหลายขนาดแตกต่างปะปนกันไปมิใช่มีแค่ 5 หรือ15 เส้นใย หากแต่มีมากมายหลายร้อยเส้น มีทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งธรรมชาติจงใจสร้างสรรค์ไว้ มิใช่ใครคนใดสร้างขึ้นมาอีกทั้งในร่องรางปืนก็มีเส้นแตกใยแมงมุมนี้มากมายเช่นกัน

เส้นใยแมงมุมจะโยงติดและต่อกันไปในทุกทิศทาง มองดูเหมือนแผนที่ประเทศไทย คล้ายรอยแตกระแหง เส้นใยบางตำแหน่งทำมุม 45 องศา ซ้อนกันถี่ๆ หลายๆ เส้นก็มีปรากฏ

พระร่วงหลังรางปืนอายุสืบเนื่องเป็นพันปี ผิวของเนื้อตะกั่วสนิมแดงมีความมันเงาในตัวมองดูแห้งๆ แต่หนึกนุ่มในสายตา ไม่แข็งกระด้างและไม่เป็นขุยเหมือนสนิมเหล็ก อีกทั้งไม่เกิดแรงดึงดูดใดๆ เมื่อใช้แม่เหล็กสัมผัส

หากใช้กล้องขยายส่องพิจารณาดู จะทราบถึงทัศนียะของเนื้อตะกั่วว่า เนื้อของตะกั่วสนิมแดงนั้นหมดยางแล้ว หรือที่เรียกกันว่าตะกั่วหมดยางนั้นเอง หากแต่ยังยืดเกาะตัวกันแน่นอยู่ด้วยน้ำสนิมแดงที่แห้งติดนานนับร้อยปี

พระร่วงหลังรางปืนเนื้อตะกั่วสนิมแดง จ.สุโขทัย ต่างเรียกเป็นพระพิมพ์ปางประทานพร ทว่าแลดูดั่งปางห้ามภัย ยืนประทับอยู่บนฐานชั้นเดียวความกว้าง 2.3 เซนติเมตร ความยาววัดได้ 8 เซนติเมตร ใบหน้าหรือพระพักตร์เรียว แลดูอ่อนหวานกว่า เครื่องทรงมีลวดลายแลดูงดงามกว่า ดังเช่นที่สร้อยพระศอหรือสร้อยคอ มีจี้ประดับตกแต่งไว้ด้วย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์แห่งศิลปะอีกประการหนึ่ง ต่างจากศิลปะของยุคลพบุรี แต่ก็มีความละม้ายคล้ายคลึงกัน พระร่วงหลังรางปืนมิใช่เป็นฝีมือการแกะพิมพ์ของช่างชาวบ้าน หากแต่เป็นฝีมือการแกะแม่พิมพ์ของช่างหลวงผู้สืบสกุลต่างยุคต่างสมัย

ทางด้านหลังของพระร่วงรางปืน มักมีร่องรอยของการกดพิมพ์พระ ผู้สร้างพระคงจะทำไม้เท่าขนาด เป็นตัววางรองด้านหลังเพื่อกดพิมพ์พระให้มีความคมชัด สวยงาม จึงมักมีรอยเส้นนูนคล้ายลายไม้เป็นทิวแถว บางเส้นยาว บางเส้นสั้น บางเส้นมีลักษณะคล้ายเสี้ยน อีกทั้งมีร่องคล้ายรางปืนลึกลงไปเป็นทางยาวเกือบเท่าความยาวของด้านหลังองค์พระ ปลายด้านบนสุดของร่องที่ต่างเรียกกันว่ารางปืน ปรากฏรอยธรรมชาติของตาไม้ประทับติดมา เปรียบประหนึ่งดั่งตราประทับประจำองค์พระ และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือเส้นแตกใยแมงมุมธรรมชาติ ซึ่งเหล่านี้นับเป็นเอกลักษณ์ของพระร่วงหลังรางปืนจักรพรรดิ พระเนื้อชินแห่งกรุงสุโขทัย ที่หาชมได้ยากยิ่ง

ยังมีอีกหลายประการที่นำมาเสนอขอให้ท่านผู้สนใจอ่านคำบรรยายพร้อมดูรูปภาพประกอบอย่างละเอียด สร้างคำถามและมีคำตอบให้ตัวท่านเอง จดจำให้มั่น ไม่ช้าท่านก็จะเข้าใจจนสามารถแยกออกว่าพระร่วงหลังรางปืน องค์ใดแท้ องค์ไหนเทียม พระร่วงรางปืนองค์แท้นี้ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณวัตถุจากกรมศิลปากร และผู้ชำนาญการเช่าพระกรุหรือเซียนพระกรุ จากศูนย์พระเครื่องที่มีชื่อแล้ว จึงได้นำมาเผยแพร่ให้สาธารณะชนได้ศึกษา












---------------------------------------



ข้อมูลจาก...สุชาติ กรมศิลป์..
ได้รับการรับรองว่าเป็นพระแท้จาก 
*** อาจารย์ สุริยัน มีอำนาจ
*** อาจารย์ จรัญ หงษ์ทอง
*** อาจารย์ สกล จันทรักษณ์ (รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช)
และ..นายแพทย์ ทวีชัย จันทร์เพ็ญ แห่ง รพ.ยันฮี ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพระกรุอีกท่านหนึ่ง.

------------------------------------------------------------------

หากท่านใดต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อที่ ...
คุณ โย ท่าพระจันทร์
โทร: 081-9099689

***************************************************************

ความเป็นมาของ “พระร่วงหลังรางปืน”

พระร่างหลังรางปืน..มีต้นกำเหนิดในยุคสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไทย ที่เมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัย(เมืองเชลียง) จากหลายกรุและหลายวัด เช่นจากกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดพระปรางค์) หรือ วัดพระบรมธาตุ
พระร่วงนั่งหลังลิ่ม เตาทุเรียง หรือ"พระร่วง กรุเตาทุเรียง" พบจากกรุวัดช้างล้อม
พระร่วงทรงเกราะ พบจากกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
พระร่วงนั่งหน้าโหนก พบจากวัดสระศรี วัดพระเชตุพน
พระพิมพ์ลีลา พบจากวัดถ้ำหีบ วัดตะพังทอง วัดมุมลังกา
พุทธลักษณะ เป็นปางประทานพร ทรงเครื่องแบบกษัตริย์โบราณ พระเศียรทรงเทริด แบบชีโบ พระหัตถ์ขวาแบหงายทาบอยู่ระหว่างกลางพระอุระ พระหัตถ์ซ้ายทิ้งห้อยลงมาข้างพระวรกาย ประทับยืนอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว ด้านหลังเป็นร่องลึกตามยาวมีลายคล้ายกาบหมาก บางองค์เป็นลายผ้ามุ้งไม่มีร่องลึก ความยาวขององค์พระประมาณ 3 นิ้วครึ่ง
ลักษณะเนื้อ เป็นชินตะกั่ว มีสองแบบคือเนื้อตะกั่วล้วนๆ สนิมออกแดงแบบลูกหว้าหรือแกมเขียวหรือแกมเหลือง และตะกั่วผสมสนิมจะเป็นไขขาวๆ บางองค์ เป็นสนิมตีนกาหรือสนิมขุม ก็มีการขึ้นหรือคราบรา เป็นสิ่งที่บ่งบอกอายุของพระเครื่องได้ดี ความแห้งของผิวจะสังเกตได้จากรอยแตกแยกหรือแตกปริ ที่เป็นไป ตามธรรมชาติ
สำหรับ พระร่วงหลังรางปืน เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง แตกกรุมาประมาณ ๕๐ ปี จากกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บริเวณหน้าพระปรางค์ใหญ่ คาดว่าน่าจะมีจำนวนพระไม่เกิน ๒๐๐ องค์ แต่ชำรุดไปกว่าครึ่ง มีพุทธลักษณะเป็นพระยืนอยู่ซุ้มเรือนแก้ว ด้านหลังองค์พระมีลักษณะเด่น คือ มีร่องกดลึกลงไปตามแนวยาวขององค์พระ
ที่เรียกกันว่า "หลังรางปืน" เพราะมีลักษณะคล้ายรอยกาบหมากเป็นเส้นทิวๆ เป็นพระที่จัดอยู่อันดับหนึ่งในชุด “พระยอดขุนพล”
พุทธคุณ คือ มหาอำนาจ แคล้วคลาด โภคทรัพย์ และคงกระพันชาตรี
สำหรับเรื่องราวของ พระร่วงยืนทั้งพิมพ์ หลังรางปืน, หลังลายผ้า, หลังกาบหมากก็เป็นการตั้งชื่อไปตามสภาพที่เห็นทางด้านหลังขององค์พระซึ่งเป็น ปางประทานพรอันหมายถึง พระราชอำนาจอันยิ่งใหญ่ของ พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรขอม
ส่วนชื่อ กาบหมาก..รางปืน..หลังลายผ้าเป็นการตั้งชื่อไปตามลักษณะของ ด้านหลังองค์พระ เพราะที่ด้านหลังของพระร่วงยืนปางประทานพรจากกรุต่าง ๆ เป็นกระบวนการสร้าง พิมพ์พระไปตามจินตนาการของผู้ออกแบบหรือปั้นแบบ ซึ่งส่วนใหญ่จะคล้ายกัน จึงเป็นการกำหนดชื่อเรียกเพื่อป้องกันการสับสนเท่านั้น
พระร่วงยืนปางประทานพรนั้น โดยปกติแล้ว ด้านหน้าจะคล้ายกันส่วน ด้านหลังจะมีข้อแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงจึงอาศัย ความแตกต่างตรงนี้มาเป็นตัวกำหนดชื่อของพระร่วงยืนที่พบในแต่ละกรุ เช่น พระร่วงหลังกาบหมากก็เรียกไปตามด้านหลังของพระกรุนี้ที่มีลักษณะคล้าย กาบหมากซึ่งก็คือ แผ่นไม้ที่ใช้กดเนื้อตะกั่วที่หลอมเหลวแล้วให้กระจายไปตามแม่พิมพ์พระ ให้ทั่วถึงเพื่อให้การสร้างพระมีความสวยงามคมชัดลึก ทั้งนี้ก็เพราะการสร้างพระพิมพ์ด้วยเนื้อตะกั่วจะต้องใช้ความร้อนเพื่อให้ตะกั่วหลอมเหลวได้ และการที่จะทำให้เนื้อตะกั่วที่หลอมเหลวแล้ว กระจายไปทุกซอกทุกมุมของแม่พิมพ์พระได้อย่างทั่วถึง ต้องอาศัยแรงกดจากด้านหลังดั่งเช่นกระบวนการสร้าง พระพิมพ์ด้วย เนื้อดินก็จะใช้ นิ้วมือกดลงไปที่ด้านหลังเพื่อให้เนื้อดินกระจายไปทั่วถึงทุกซอกทุกมุมของแม่พิมพ์ แต่ในกรณีของเนื้อตะกั่วที่ต้องใช้ความร้อนสุมจึงจะหลอมเหลวได้ ดังนั้นเนื้อตะกั่วที่อยู่ระหว่างการหลอมเหลวจึงมี ความร้อนผู้สร้างในสมัยนั้นจึงใช้ แผ่นไม้ที่ผิวแผ่นค่อนข้าง หยาบกดแทนจึงทำให้ด้านหลังกลายเป็นลายไม้ที่คล้ายกับ กาบหมากเพราะในกรณีนี้หากใช้แผ่นไม้ที่ เรียบแล้วเนื้อตะกั่วจะกระจายไปตามแม่พิมพ์ได้ไม่ดีเท่ากับแผ่น หยาบนั่นเอง
********************************************************